เรื่องราวดีๆ ที่ต้องอ่าน

 “เรื่องราวดีๆ ที่ทั้ง

คนขายประกันชีวิต คนที่ยังไม่ซื้อประกันชีวิต

และคนที่คิดว่าซื้อแล้ว…แต่ยังไม่มากพอ

ต้องอ่าน” (ขอบอก)

บทบาทของการประกันชีวิตในการวางแผนทางการเงิน

การประกันภัยเป็นการสงวนรักษา และเสริมสร้างความมั่นคงของลูกค้า และในฐานะที่เป็นเครื่องมือการวางแผนการเงินที่สำคัญ และทรงพลังในหลายส่วน นักวางแผนการเงินต้องเข้าใจ และสามารถนำการประกันชีวิตไปประยุกต์ใช้ในการบริหารความเสี่ยงด้านการเงินของลูกค้า เพื่อช่วยวางแผนแก้ปัญหาจากสาเหตุการเสียชีวิตก่อนวัย ปัญหาด้านสุขภาพ การทุพพลภาพ รวมถึงโครงการกองทุนเพื่อการเกษียณและการชดเชยการเสียชีวิต

/></figure>


<p><strong>การเสียชีวิตก่อนวัยอันควร</strong><strong></strong></p>


<p>เป็นสิ่งสำคัญในการเรียนรู้ ว่าประกันชีวิตสามารถนำไปใช้เพื่อบรรเทาผลที่ตามมาทางการเงินของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร
การเสียชีวิตก่อนวัยนั้น ถูกนิยามว่าเป็น<strong><em>ความตายของผู้หาเลี้ยงครอบครัว
ที่ทิ้งภาระผูกพันทางการเงินที่ยังไม่เสร็จสิ้น</em></strong> สามารถเป็นต้นเหตุของความยากลำบากทางการเงินอย่างรุนแรงของผู้ต้องพึ่งพาที่ยังรอดอยู่
เนื่องจากส่วนของรายได้ที่เคยได้รับจากผู้หาเลี้ยงครอบครัวต้องขาดลง
หากรายได้ทดแทนจากแหล่งอื่นๆ ไม่เพียงพอ หรือทรัพย์สินที่สะสมไว้ต้องหมดสิ้นไปด้วยแล้ว
ผู้ต้องพึ่งพาที่ยังรอดอยู่จะต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนอย่างใหญ่หลวง
ถือเป็นความโชคร้ายซ้ำ 2
ของผู้พึ่งพาของเขา </p>


<p>คราวเคราะห์แรกคือ
<strong>การสูญเสียอย่างถาวรในรายได้ของผู้หาเลี้ยงครอบครัว</strong> ที่เขานำมาสู่ครอบครัว
การสูญเสียรายได้อย่างไม่คาดคิดมาก่อนของผู้หาเลี้ยงครอบครัว
สามารถเป็นประสบการณ์สะเทือนขวัญสำหรับผู้ต้องพึ่งพา </p>


<p>ผลกระทบอย่างที่ 2 ของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรคือ
<strong>ความต้องการค่าใช้จ่ายเพิ่มอย่างกะทันหัน</strong> เช่น ค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาล
ค่าใช้จ่ายด้านงานศพ และด้านกฎหมาย สถาการณ์ลักษณะนี้ถูกทำให้บอบช้ำมากขึ้น
ด้วยความสูญเสียแบบอื่นที่มิใช่เงิน เช่น ความโศกเศร้า ความปวดร้าวทางจิต
และความรู้สึกสูญเสีย </p>


<p>อีกแง่มุมหนึ่งซึ่งต้องการความใส่ใจของนักวางแผนการเงินคือ
<strong>ผลกระทบของเงินเฟ้อ</strong> แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะไม่แน่นอน
และยากต่อการพยากรณ์ก็ตาม เราจำเป็นต้องมีค่าเผื่อจากผลของมันต่อความมั่นคงของลูกค้า
มูลค่าแท้จริงของทรัพย์สินของลูกค้าสามารถลดลงอย่างมากจากเงินเฟ้อ
สิ่งนี้จะส่งผลกระทบต่อการคำนวณจำนวนเงินที่ถูกต้องที่จะเป็นต้องใช้ในยามเกษียณ
เพราะหากอัตราเงินเฟ้อคือ 5
% ต่อปี ดังนั้นเงิน 10 ล้านบาท ในอีก 10
ปีข้างหน้านะมีค่าเพียงแค่ 6.1 ล้านบาท
หมายความว่าหากลูกค้าจำเป็นต้องมีเงิน 6 ล้านบาท ในเวลาอีก 10
ปี เขาจำเป็นต้องมี 10 ล้านบาทในช่วงเวลานั้น
ซึ่งเราสามารถเอาชนะได้ด้วย 2 วิธี คือ <strong><em>“วิธีคนทำงาน”</em></strong>
ตราบเท่าที่บุคคลยังคงทำงานอยู่ รายได้ของเขาจะเพิ่มขึ้นด้วยแรงกดดันด้านการเงินในประเทศของเขาเอง
และ <strong><em>“วิธีเงินทำงาน”</em></strong>
เงินที่หามาได้นั้น เราสามารถเก็บออมและลงทุนเพื่อก่อให้เกิดดอกเบี้ย
หรือรายได้มาต่อสู่กับผลกระทบของเงินเฟ้อ
แม้ว่าการประกันชีวิตจะไม่สามารถป้องกันผลจากการกัดเซาะของเงินเฟ้อก็ตาม
ยังคงสามารถถูกใช้เพื่อปกป้องทรัพย์สินของลูกค้าโดยการสร้างสินทรัพย์ที่ขยายตัวอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อชดเชยต่อเงินเฟ้อ</p>


<p><strong>การประกันชีวิตในฐานะเครื่องมือสร้างความมั่นคง</strong><strong></strong></p>


<p>ประกันชีวิตถือเป็นเครื่องมืออันทรงประสิทธิภาพต่อการเสริมสร้างความมั่นคง
อันเป็นเพราะความสามารถในการสร้างทุนอย่างเป็นกอบเป็นกำ จากต้นทุนที่น้อยที่สุด
เช่น เมื่อลูกค้าซื้อประกันชีวิตฉบับหนึ่ง และเริ่มต้นจ่ายเบี้ยประกันจำนวนน้อย <strong><em>สินทรัพย์
</em></strong><strong><em>10
ล้านบาทสามารถถูกสร้างได้ในทันทีหากมีการเสียชีวิตโดยไม่มีความจำเป็นต้องจ่ายเบี้ยประกันเพิ่มเติมแก่บริษัทประกันชีวิต</em></strong>
ในทางตรงกันข้าม หากลูกค้าไปซื้อสินทรัพย์ เช่น บ้าน
ลูกค้าจำเป็นต้องจ่ายค่าบ้านเต็มจำนวนก่อนที่บ้านจะเป็นของลูกค้าตามกฎหมาย
หากลูกค้าได้รับเงินกู้เพื่อเป็นเงินใช้ซื้อสิ่งของ ลูกค้าอาจลงเอยด้วยการจ่ายเป็น
2 เท่าของจำนวนที่ค้างชำระเนื่องจากถูกคิดดอกเบี้ย
และหากเมื่อผู้ซื้อเสียชีวิตก่อนการจ่ายคืนเงินจะกระทำเสร็จ
ครอบครัวของเขาจะยังคงจำเป็นต้องจ่ายคืนส่วนที่ค้างอยู่นอกเหนือจากการเป็นเครื่องมือสร้างความมั่งคั่งแล้ว
ประกันชีวิตยังทำหน้าที่ปกป้องผู้ต้องพึ่งพาของผู้หาเลี้ยงครอบครัวจากการสูญเสียรายได้ในอนาคต
อันเป็นผลจากการเสียชีวิตของผู้หาเลี้ยงครอบครัว</p>


<p><strong>ประกันชีวิตเพื่อการเพิกถอนหนี้สิน</strong><strong></strong></p>


<p>รูปแบบการใช้ชีวิตเชิงวัตถุในปัจจุบัน
มีหนทางนับไม่ถ้วนที่บุคคลคนหนึ่งจะสร้างหนี้สิน เงินกู้ส่วนบุคคล เงินสดล่วงหน้า
บัตรเครดิต และการเช่าซื้อ
เป็นเพียงบางส่วนของเครื่องมือสร้างหนี้ยุคใหม่ในโลกการค้า
เครื่องมือสร้างหนี้เหล่านี้หากปล่อยไว้โดยไม่ตรวจสอบ
อาจสะสมจนเป็นจำนวนก้อนโดเกินกำลังรายได้ของคนนั้น หากสัดส่วนที่ใหญ่ขึ้น เช่น
เงินกู้ผ่อนบ้าน เงินกู้เพื่อการศึกษา
และเงินกู้เพื่อการประกอบธุรกิจสามารถสร้างภาระความรับผิดชอบในสัดส่วนที่ใหญ่โตมหาศาล
ซึ่งสามารถก่อให้เกิดรอยร้าวที่รุนแรง และเป็นทุกข์
ทรัพย์สมบัติของผู้กู้ในกรณีส่วนใหญ่แล้ว
การจ่ายคืนเงินกู้ในลักษณะนี้ต้องเป็นระยะเวลานานและจำนวนเงินต้นที่จะใหญ่
อันเป็นผลมาจากการจ่ายดอกเบี้ยจำนวนมหาศาล 
<strong><em>สามารถปกป้องคุ้มครองได้จากการประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลาชนิดลดทุนประกันตามยอดเงินกู้</em></strong>
ซึ่งจะจ่ายยอดค้างจ่ายของเงินกู้ในกรณีที่ผู้กู้เสียชีวิต
ก่อนเสร็จสิ้นการชำระสะสางเงินให้ครบจำนวน</p>


<figure><img decoding=

แบ่งปันบทความนี้