Search
Close this search box.

คุณต้องทำอย่างไรเมื่อ‘สิ่งก่อสร้างในที่สาธารณะถล่มหรือตกใส่รถยนต์’

จากกรณีข่าวล่าสุดในโครงการทางยกระดับถนนอ่อนนุช-ลาดกระบัง (ช่วงหน้าปั๊มน้ำมัน ปตท.) ถนนหลวงแพ่ง แขวงทับยาว เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ได้พังถล่มลงมาระหว่างการก่อสร้าง ส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย และบาดเจ็บ 12 ราย เหตุเกิดเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2566 นั้น มีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประกันภัย อาทิเช่น คปภ ที่กำลังเร่งตรวจสอบและเยียวยาผู้ประสบภัย

ทั้งนี้ จากการตรวจสอบความเสียหายทั้งต่อชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินจากการเกิดอุบัติเหตุครั้งนี้ พบว่า ผู้เสียชีวิตทั้ง 2 ราย เป็นพนักงานของโครงการดังกล่าว ส่วนผู้บาดเจ็บ 12 ราย เป็นพนักงานก่อสร้าง 5 ราย และประชาชนที่ใช้เส้นทางสัญจรในบริเวณนั้น 7 ราย ในปัจจุบันที่เกิดเหตุการณ์อุบัติเหตุบ่อยๆ จากสิ่งก่อสร้างในที่สาธารณะไม่ว่าจะการก่อสร้าง การปรับปรุง สะพาน ทางยกระดับ รางรถไฟฟ้า ฯลฯ การก่อสร้างที่อยู่เหนือศีรษะของผู้ขับขี่และผู้ประสบภัย สิ่งที่อยู่นอกระยะมองเห็นโดยทั่วไป ดูจะเป็นเรื่องที่ยากทีเดียว สำหรับเหตุการณ์ล่าสุด กรณีทางยกระดับถนนอ่อนนุช-ลาดกระบัง พังถล่ม ผมและสถาบันฯ ต้องขอแสดงความเสียใจไปยังผู้ประสบภัย และครอบครัวมาในโอกาสนี้ด้วยนะครับ

อาจมีคำถามตามมาว่าต้องดำเนินการอย่างไร สำหรับเหตุการณ์ ‘สิ่งก่อสร้างในที่สาธารณะถล่ม หรือตกใส่รถยนต์’

ออกจากพื้นที่เสี่ยงและรวบรวมสติ

: ตรวจสอบในทันทีว่าผู้ขับขี่และผู้โดยสารในรถได้รับบาดเจ็บหรือไม่ หากมีผู้ได้รับบาดเจ็บเช็คอาการเบื้องต้นว่าสามารถขยับร่างกายได้หรือไม่ หากเคลื่อนไหวได้ควรเคลื่อนย้ายไปอยู่บริเวณที่ปลอดภัย แต่หากมีผู้บาดเจ็บหนัก ที่ไม่สามารถเคลื่อนได้ด้วยตนเอง ให้รีบโทรแจ้งหน่วยกู้ภัยหรือโรงพยาบาล

  • หน่วยแพทย์กู้ชีวิต วชิรพยาบาล โทร. 1554
  • ศูนย์ร้องทุกข์กรุงเทพมหานคร โทร. 1555
  • ศูนย์เอราวัณ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร โทร. 1646
  • สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โทร. 1669
  • เมื่อชีวิตปลอดภัย ไกลพื้นที่จุดเสี่ยง ให้โทรแจ้งตำรวจ

: แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ โทร.191 โดยให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับเหตุการณ์ ชื่อผู้ประสบภัย สถานที่เกิดเหตุ และหมายเลขสำหรับติดต่อกลับ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาตรวจสอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และลงบันทึกประจำวันหรือแจ้งความไว้เพื่อเป็นหลักฐาน ประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ และเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย ค่าเยียวยาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ประการสุดท้าย คือโทรแจ้งบริษัทประกันภัย

: โทรแจ้งข้อมูลกับเจ้าหน้าบริษัทประกันภัย ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์อุบัติเหตุภัย โดยโทรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลและติดตามเเบื้องต้น

ผมจึงอยากแนะนำทุกคน ว่าควรติดตัวทุกครั้งสำหรับข้อมูลเกี่ยวกับประกันภัย และพรบ. ติดรถ เพื่อสะดวกเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ถามให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเงื่อนไขสัญญาด้านการประกันภัย เพื่อเยียวยาผู้ประสบภัยครับ

ส่วนประเด็น ‘ประกันรถยนต์คุ้มครองหรือไม่?’ สำหรับประกันรถยนต์ชั้น 1 มีการคุ้มครองกรณีนี้ครับ ด้านความเสียหายต่อตัวรถ หากบริษัทประกันมีการประเมินว่ารถมีความเสียหายรุนแรง ไม่สามารถซ่อมให้อยู่ในสภาพเดิมได้ หรือเสียหายตั้งแต่ร้อยละ 70 ของมูลค่ารถในขณะเกิดความเสียหาย บริษัทประกันจะจ่ายเงินให้แก่ผู้เอาประกันเต็มทุนประกันตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ คุณสามารถตรวจสอบและปรึกษากับเจ้าหน้าที่บริษัทประกันเพิ่มเติมเพื่อประเมินความเสียหายและการชดเชย แต่ประกันภัยประเภทอื่นๆ (ที่ไม่ใช่ชั้น 1) โดยมากไม่คุ้มครองค่าซ่อมรถ-ชดเชยความเสียหายจากกรณีที่ไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุจากรถยนต์ชนกับยานพาหนะทางบก

นอกจากนั้นบริษัทประกันภัยอื่นๆที่คุณทำไว้ หรือหากบุคคลที่ติดตามเกิดเสียชีวิต หรือประสบอุบัติเหตุหนัก คุณควรเร่งโทรแจ้งบริษัทประกันภัยเพื่อชดเชยความเสียหายดังกล่าวด้วยครับ

ผมหวังเป็นอย่างยิ่ง จะเป็นบทเรียนสุดท้าย ขึ้นชื่อว่าอุบัติเหตุ เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกขณะที่เราดำเนินชีวิต

อ.ฉัตรชัย​ ผาสุขธรรม​ / เขียนบทความ

#tiivarietytalk #ทีไอไอทอล์ค​ #ประกันภัย #ประกันชีวิต #ประกันวินาศภัย

แบ่งปันบทความนี้