Search
Close this search box.

รายงานการเงินส่วนบุคคล

หัวใจสำคัญของรายงานการเงิน

            บุคคลที่ต้องการวางแผนทางการเงิน ต้องทำรายงานการเงินของตน เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ รายงานการเงินจะเป็นฐานข้อมูลที่มีประโยชน์ในการเปรียบเทียบ ตรวจสอบความก้าวหน้าของลูกค้าว่าเข้าใกล้เป้าหมายเพียงใด

รายงานการเงินส่วนบุคคลที่ใช้ในการวางแผนการเงิน ประกอบด้วยงบดุล บัญชีการแสเงินสด และงบประมาณ  (ประมาณการกระแสเงินสด-Pro forma cash flow statement)

ถอดสมการงบดุล

          สมการเบื้องต้นในการทำบัญชีระบุว่า “ทรัพย์สินลบด้วยหนี้สิน เท่ากับมูลค่าสุทธิ” หรือแปลง่ายๆ ว่า สิ่งที่คุณมี ลบด้วยสิ่งที่คุณเป็นหนี้ คือมูลค่าของคุณ

            ทรัพย์สิน – หนี้สิน = มูลค่าสุทธิ (Net worth)

            ทรัพย์สิน = หนี้สิน + มูลค่าสุทธิ (Net worth or Equity)

            หมายความว่าสิ่งที่เขามีในวันนี้ (Assets) เท่ากับสิ่งที่เขาเป็นหนี้ในวันนี้ (Liabilities) บวกด้วยมูลค่าของเขาในวันนี้ (Equity)

เพิ่มมูลค่าสุทธิให้ลูกค้า

มูลค่าสุทธิเป็นเครื่องวัดความร่ำรวยของแต่ละคน มี 4 วิธี ที่สามารถเพิ่มมูลค่าสุทธิของลูกค้า ดังนี้

 srcset=

การเพิ่มมูลค่าของทรัพย์สิน (Appreciation)

 srcset=

การโอนรายได้ไปซื้อทรัพย์สิน

 srcset=

ลาภลอย หรือของกำนัลที่ลูกค้าได้รับ

 srcset=

การยกเลิกหนี้ เมื่อเจ้าหนี้ยอมละเว้นการเรียกหนี้คืน

ถ้าดูงบดุลโดยละเอียด จะพบว่ามันไม่ได้แสดงว่าเจ้าของบัญชีมีเงินสดสำรองฉุกเฉิน

เพียงพอหรือไม่ การมีมูลค่าสุทธิสูง ไม่ได้หมายถึงการมีกระแสเงินสดที่ดี คนที่มีมูลค่าสุทธิติดลบ จะมีเวลาในการปรับปรุง ถ้าเขามีกระแสเงินสดเป็นบวกเพียงพอที่จะจ่ายหนี้ในปัจจุบัน

รายงานกระแสเงินสดส่วนบุคคล และการจัดการเงินสดหมุนเวียน

          รายงานกระแสเงินสด (Cash flow statement) เป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการเงินสดหมุนเวียนทำให้นักวางแผนการเงินเข้าใจได้ดีขึ้น ถึงนิสัยในการใช้จ่ายของลูกค้า ได้เห็นเงินเข้า เงินออกในแต่ละช่วงเวลา

            การจัดการเงินสดหมุนเวียนเป็นเทคนิคขั้นพื้นฐานที่สุดในการวางแผนการเงิน แต่ก็เป็นเรื่องที่ท้าทายที่สุด ในการที่จะได้ข้อมูลจากลูกค้า เพราะในวัฒนธรรมแบบเอเชีย รายได้และนิสัยในการใช้จ่ายถือเป็นเรื่องส่วนตัวที่ไม่ควรบอกใครการจัดการเงินสดหมุนเวียนจะต้องล่วงล้ำเข้าไปถึงนิสัยการใช้จ่าย ซึ่งย่อมมีแรงต้านจากลูกค้าอย่างแข็งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงนิสัยในการจับจ่ายอย่างเข้มงวด นักวางแผนจะต้องใช้ความนุ่มนวล และฝึกวิธีสื่อสารอย่างเหมาะสม เพื่อให้กระบวนการดำเนินไปอย่างราบรื่น

 srcset=

    การจัดการเงินสดหมุนเวียน (Cash flow management) คือกระบวนการวางแผน และควบคุมงบประมาณซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ

  1. วิเคราะห์กระแสเงินสด
  2. การวางแผนเงินสดหมุนเวียน
  3. การทำงบประมาณ
  1. การวิเคราะห์กระแสเงินสด

คือ กระบวนการที่จะระบุรายรับรายจ่าย เพื่อดูว่าเมื่อถึงสิ้นเดือนจะมีเงินเหลือบ้าง หรือไม่ก็

ควรจะมีเงินเหลือ เรียกว่า เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย (Discretionary Income) สิ่งแรกที่นักวางแผนต้องทำคือ การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับฐานะกระแสเงินสดของลูกค้า โดยใช้แบบสอบถามเพื่อหาข้อมูล (Fact finder) หลังจากนั้นก็นำข้อมูลมาทำรายงานกระแสเงินสดเพื่อวิเคราะห์

            รายงานกระแสเงินสดมี 2 แบบ แบบแรกแสดงรายรับสุทธิ (Net inflows) แต่แบบที่สอง รายรับกับรายจ่ายเท่ากัน เพราะ รายรับ “ส่วนเกิน” (Excess) ถูกนำกลับไปรวมไว้ในรายการ “อื่นๆ”

            นักวางแผนต้องวิเคราะห์รายงานนี้ เพื่อหาจุดแข็ง จุดอ่อนของกระแสการเงินของลูกค้า การวิเคราะห์กระแสเงินสดถือเป็นจุดเริ่มต้นที่นักวางแผนกับลูกค้าจะร่วมกันกำหนดวัตถุประสงค์ ซึ่งถ้าทำอย่างถูกต้องก็จะเปิดเผยให้เห็นการใช้ทรัพยากรทางการเงินที่ขาดประสิทธิภาพของลูกค้า ทั้งยังเน้นให้เห็นแนวทางปฏิบัติในการปรับเปลี่ยนนิสัยการใช้จ่ายที่ไม่ดีได้

            รายรับ – รายจ่าย = ต้องเป็นบวก

 srcset=

  1. การวางแผนเงินสดหมุนเวียน

เป้าประสงค์ของการวางแผนเงินสดหมุนเวียน คือ การใช้ประโยชน์สูงสุดจากรายรับหลังหักค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นส่วนที่เหลือหลังจากนำค่าใช้จ่ายทั้งหมดมาหักออกจากรายรับ เงินจำนวนนี้ สามารถนำไปใช้ได้หลายทาง แต่ส่วนใหญ่แล้วมักนำไปลงทุน

นักวางแผนการเงินอาจแนะนำ กลยุทธ์ประโยชน์สูงสุด (Optimization) ที่สอดคล้องกับรูปแบบการใช้ชีวิตที่ลูกค้ายอมรับได้ ในขณะเดียวกันก็นำรายได้ส่วนใหญ่ไปลงทุน หรือใช้เพื่อเป้าประสงค์อื่น ลูกค้าจะต้องรักษารูปแบบการใช้ชีวิตอย่างที่เคยให้มากที่สุด ในขณะที่มุ่งไปสู่เป้าหมายด้วยทางเลือกอีกทางก็คือ กลยุทธ์แบบอดออมที่สุด (Maximization) ซึ่งแนวปฏิบัติที่ตามมาอาจตึงเกินกว่าที่ลูค้าจะยอมรับได้ เช่น ลูกค้าอาจต้องย้ายไปอยู่บ้านที่เล็กลง และกินข้าวนอกบ้านให้น้อยลง           เราจะทำอย่างไร ถ้า……รายรับ – รายจ่าย = ผลเป็นลบ

เรามีวิธีปรับเปลี่ยน 2 วิธี

  1. ลดรายจ่าย (ลูกค้าต้องเต็มใจทำ)
  2. หาแหล่งรายได้เพิ่ม เช่น การทำงานล่วงเวลา หรือ ทำธุรกิจใหม่ที่สร้างรายได้ เป็นต้น (ในกรณีที่ลูกค้าไม่ยอมเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต)

 srcset=

  1. การทำงบประมาณ

คือ กระบวนการวางแผนที่เจาะจงในเรื่องของการใช้จ่าย และลงทุน จากทรัพยากรทางการเงิน

ของลูกค้า ซึ่งทำได้โดยการเลียนแบบการทำงาน ที่กำหนดงบล่วงหน้า และผลที่ทำได้จริงเทียบกับแผนที่วางไว้

            การทำรายงานกระแสเงินสด และงบประมาณที่มีประสิทธิผลมีหลายลักษณะ เป็นต้นว่า ควรจะมีความยืดหยุ่นพอที่จะปรับเปลี่ยนได้ เมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น สถานการณ์ที่ว่านี้อาจเป็นโอกาส หรือเหตุฉุกเฉินก็ได้ ความยืดหยุ่นที่ว่านี้ก็เพื่อรับประกันว่างบประมาณที่ทำไว้ยังคงมีประสิทธิผลอยู่ แม้มีเหตุการณ์นอกเหนือจากที่วางแผนไว้

            เพื่อให้แน่ใจว่ากระบวนการที่วางไว้จะเป็นไปตามนั้น งบประมาณควรจะเข้าใจง่าย ปฏิบัติง่าย นั้นหมายถึงต้องมีความชัดเจน กระชับ และนำเสนอในรูปแบบที่เรียบง่าย โดยตัดข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป ใช้ตัวเลขคร่าวๆ กับเงินก้อนเล็กๆ ที่ไม่มีผลกระทบต่องบประมาณ และงบประมาณที่ร่างไว้จะต้องตอบสนองเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของลูกค้า

ขั้นตอนการทำงบประมาณ

 srcset=

ขั้นที่ 1 ระบุและคำนวณรายได้ทั้งปีของลูกค้า

ทำรายการแหล่งรายได้ทั้งหมด โดยระบุจำนวนที่ได้จากแต่ละแหล่ง ซึ่งอาจรวมเอา ค่าจ้าง รายได้จากธุรกิจ ค่าเช่า เงินปันผล ผลตอบแทนจากทรัสต์ ฯลฯ สำหรับผู้ที่มีรายรับไม่แน่นอน วิธีที่ดีที่สุดคือประมาณการ 2 แบบ ได้แก่แบบรายรับที่น่าจะเป็นไปได้ และแบบรายรับต่ำสุด

 srcset=

ขั้นที่ 2 ประเมินรายจ่ายประจำ และรายจ่ายตามที่จำเป็น

รายจ่ายประจำปี อาจแบ่งเป็นค่าใช้จ่ายตายตัว และค่าใช้จ่ายตามที่จำเป็น ค่าใช้จ่ายตามตัวเป็นรายจ่ายประจำที่คุ้นเคยอยู่แล้ว จึงอาจปรับเปลี่ยนได้โดยไม่กระทบต่อรูปแบบการใช้ชีวิตของลูกค้ามากนัก แม้ค่าใช้จ่ายที่ตายตัวที่สุด ก็อาจจัดไว้ล่วงหน้าได้ ส่วนค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นนั้นเป็นทางเลือกของลูกค้า อาจมีการกำหนดเวลาไว้ในช่วงที่มีรายได้มากพอก็ได้

 srcset=

ขั้นที่ 3 คำนวณหาเงินส่วนเกิน (Surplus) หรือส่วนที่ติดลบ (Deficit)

ระหว่างทำงบประมาณ การหาเงินหมุนเวียนสุทธิของลูกค้า ทำได้โดยเอารายจ่ายทั้งหมด หักออกจากรายรับทั้งหมด ถ้ายอดสุทธิเป็นบวก ลูกค้าก็สามารถจัดสรรเงินส่วนเกินไปเก็บออม หรือลงทุน ซึ่งก็ต้องแข่งกับนิสัยในการใช้จ่ายของลูกค้าด้วย

 srcset=

ขั้นที่ 4 แนะนำแนวทางเพิ่มรายได้ และลดรายจ่าย

การแก้ไขกระแสเงินสดที่ติดลบ ทำได้เพียงเพิ่มรายได้ และลดรายจ่าย ถ้าลูกค้ามีกระแสเงินสดที่ติดลบ ก็ต้องแนะนำวิธีตัดค่าใช้จ่าย มันอาจจะฟังดูไม่ดีสำหรับลูกค้า แต่เขาก็ต้องยอมเปลี่ยนนิสัยในการใช้จ่าย มิฉะนั้นแผนการเงินก็จะล้มเหลว ต้องถือว่าสละความฟุ่มเฟือยระยะสั้น เพื่อบรรลุเป้าหมายระยะยาว นักวางแผนการเงินต้องคอยกระตุ้น และดูแลให้ลูกค้าอยู่ในทิศทางที่ถูกต้อง ในการเพิ่มเงินออม เพื่อการลงทุน และวางแผนเกษียณอายุ

 srcset=

ขั้นที่ 5 คำนวณรายจ่ายเป็นร้อยละจากยอดรวม

อีกทางหนึ่งที่จะทำประโยชน์ให้ลูกค้าได้ คือ เปรียบเทียบ รูปแบบการใช้จ่ายของเขา กับประชากรโดยเฉลี่ย แต่ก็อาจเป็นการยากที่จะได้ข้อมูลเช่นว่านี้มา และถึงแม้จะได้ข้อมูลมาแล้ว ก็ต้องตระหนักว่าสถิตินี้มีโอกาสเบี่ยงเบนสูง เนื่องจากสถิติประชากรด้านต่างๆ เช่น เพศ อายุ รายได้ โครงสร้างของครอบครัว ภูมิลำเนา และปัจจัยอื่นๆ

*** ฉบับหน้ามีสาระดีๆเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง และการวางแผนประกัน ที่นักขายประกันมืออาชีพ ไม่ควรพลาดเป็นอย่างยิ่ง เรียกว่า หากต้องเฝ้ารอด้วยใจจดใจจ่อตั้งแต่วันนี้ จนกระทั่งได้อ่านฉบับต่อไปแม้แค่ไม่กี่บรรทัดก็คุ้มค่าการรอคอยแล้วครับพี่น้องครับ ***

” อาจารย์ สุทิน สุขเกษม “

แบ่งปันบทความนี้