Search
Close this search box.

การวางแผนการเงิน

การวางแผนการเงิน

     ในสังคมที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นทุกวัน ผู้บริโภคต้องแบกภาระรับผิดชอบต่อครอบครัว ต่องานอาชีพ และต่อชุมชน รวมถึงการเพิ่มคุณค่าชีวิตของตนด้วย ตลาดบริการทางการเงินก็กำลังเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ด้วยกฎหมาย และข้อบังคับใหม่ๆ สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การตลาด การนำเสนอสินค้าหลากหลาย และการโฆษณาที่ขัดแย้งกันผ่านสื่อต่างๆ การตัดสินใจเรื่องการเงินอย่างถูกทาง ถูกเวลา จึงมีความสำคัญยิ่งต่อการบรรลุเป้าหมาย และความมั่นคงทางการเงินส่วนบุคคล

 srcset=

ที่ปรึกษาส่วนบุคคลทำหน้าที่แนะนำกระบวนการวางแผนการเงินโดย ระบุเป้าหมาย เก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ วิเคราะห์ ชี้ปัญหา เสนอทางแก้ปัญหา จนถึงขั้นตอนที่สำคัญที่สุดคือการปฏิบัติตามแผน และประเมินผลลัพธ์ ที่ปรึกษาจะช่วยลูกค้าในการเก็บออม ใช้จ่าย ลงทุน ประกัน และวางแผนอย่างฉลาดเพื่ออนาคต  หากท่านเป็นผู้หนึ่งที่ได้ชื่อว่าเป็นนักขายผู้มีประสบการณ์ และปรารถนาที่จะยกระดับเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ฝ่ายฝึกอบรมและวิชาการขอรวบรวมและนำเสนอเกร็ดความรู้สำหรับผู้สนใจศึกษา พร้อมทั้งได้รับแนวคิดที่ปฏิบัติได้ และกลยุทธ์ที่หลากหลายในการวางแผนทางการเงิน เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม ซึ่งจะส่งผลให้ท่านสามารถศึกษาและปฏิบัติจนสามารถวางแผนการเงินสมบูรณ์แบบให้ลูกค้าได้ อันได้แก่

การวางแผนการเงินเบื้องต้น
แนวคิดพื้นฐานในการจัดการความเสี่ยง
การวิเคราะห์ความเสี่ยง, ความจำเป็น และการกำหนดเบี้ยประกันบทบาทของการประกันในการวางแผนการเงิน
การวางแผนลงทุน

ค่าของเงินตามเวลา
การวางแผนภาษี
การวางแผนเกษียณอายุ
การวางแผนมรดก
กระบวนการวางแผนการเงินสมบูรณ์แบบ

 srcset=

ความจำเป็นในการวางแผนการเงิน

ในอดีตการวางแผนการเงินเป็นสิ่งที่เรียบง่ายกว่าสมัยนี้มาก คนสมัยก่อนแม้มีรายได้ไม่ต้องมากนักก็สามารถเลี้ยงดูครอบครัว ส่งลูกเรียนหนังสือ แล้วยังมีเงินเก็บไว้ในยามเกษียณตามอัตภาพ แต่ในปัจจุบันสิ่งต่างๆ มีความซับซ้อนมากขึ้น จากปัจจัยหลัก ๆ 4 ประการ

 srcset=

  1. ความผันผวนทางเศรษฐกิจ

ภาวะเงินเฟ้อ การขึ้นลงของอัตราดอกเบี้ย ความก้าวหน้าทางเทคโนยี และโลกาภิวัตน์ นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงมากขึ้นเรื่อยๆ สงครามและการก่อการร้ายก็ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ตัวอย่างที่ชัดเจนของความผันผวนทางเศรษฐกิจ คือ วิกฤตการเงินเอเชียในปี 1997 ซึ่งยังส่งผลตกค้างที่รู้สึกได้จนถึงทุกวันนี้

 srcset=

  1. รูปแบบการใช้ชีวิตเปลี่ยนไป

ในขณะที่คนเรามีรายได้มากขึ้น รูปแบบการใช้ชีวิตก็เปลี่ยนไป คนทั่วไปร่ำรวยขึ้น และมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น มีวัตถุนิยมมากขึ้น จึงต้องใช้จ่ายมากขึ้น ทั้งสิ่งที่เร่งเร้าให้คนใช้จ่ายก็มีวิธีการใหม่มากมายหลายหลาก ทำให้ยิ่งยากที่จะเก็บออม

 srcset=

  1. ความหลากหลายของสินค้าทางการเงิน

สินค้าทางการเงินมากมายหลายชนิดเดินแถวออกสู่ตลาดไม่เว้นแต่ละวัน ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น ตัวอย่างสินค้าทางการเงินชนิดใหม่ คือ การประกันควบการลงทุน (Investment-Linked Product หรือ ILP) เป็นการประกันที่มีองค์ประกอบของการลงทุน

 srcset=

  1. การเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ทางภาษี

                กฎระเบียบทางภาษีกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอน ทำให้ผู้เสียภาษีต้องวางโครงสร้างการใช้จ่ายของตนเสียใหม่ เพื่อให้ได้สิทธิทางภาษีที่เปิดช่องไว้ ความจำเป็นในการวางแผนการเงินนั้นชัดเจนยิ่ง แต่สิ่งที่หน่วงเหนี่ยวไม่ให้บริการทางการเงินเติบโตก็คือ คนไม่ตระหนักในเรื่องนี้ เนื่องจากในหลายประเทศยังไม่มีข้อกำหนดที่ใช้บังคับในเรื่องการวางแผนการเงิน หรือบังคับนักวางแผนการเงิน และยังไม่มีกฎหมายใดห้ามมิให้ใครก็ตามอุปโลกน์ตนเองเป็นนักวางแผนการเงิน

 

นักวางแผนการเงินชนิดต่างๆ

      นักวางแผนการเงิน (Financial Planner) คือ นักวิชาชีพที่ช่วยลูกค้าจัดเตรียมแผนการเงินด้วยการเสนอวิธีแก้ปัญหา และทางเลือกในการจัดการเงินทองของเขา ช่วยจัดการทรัพย์สินและความจำเป็นในการลงทุน เพื่อบรรลุเป้าหมายทางการเงิน ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว นักวางแผนการเงินมีหน้าที่รับผิดชอบในการวางกลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะสำหรับลูกค้าแต่ละคน ตามสถานะ และลักษณะนิสัย เพื่อให้พวกเขาบรรลุถึงซึ่ง ความฝัน

      นักวางแผนการเงินอาจถูกจัดประเภทตามขอบเขตของบริการที่เขาให้แก่ลูกค้า เช่น นักวางแผนการเงินที่บริการด้านเดียว (Mono-service) บริการหลายด้าน (Multi-services) และบริการรอบด้าน Comprehensive-services)

นักวางแผนการเงินที่บริการด้านเดียว จะเสนอสินค้า หรือบริการเพียงกลุ่มเดียวเป็นประจำ โดยมีความเชี่ยวชาญพิเศษในสินค้าของบริษัท 1-2 แห่งในประเภทเดียวกัน เช่น นักขายประกันชีวิต และวินาศภัย นักขายหน่วยลงทุน นายหน้าค้าหุ้น นักขายอสังหาริมทรัพย์ น่าจะจัดอยู่ในกลุ่มนี้ นักวางแผนการเงินที่บริการด้านเดียวย่อมถูกจำกัดด้วยสินค้า และบริการของเขา ทำให้ไม่สามารถให้บริการด้านการเงินอย่างเต็มรูปแบบได้

นักวางแผนการเงินที่บริการหลายด้าน มีความซับซ้อนขึ้นโดยการเสนอบริการที่กว้างขึ้น ในแบบผสมผสานสินค้า และบริการต่างประเภทไว้ด้วยกัน บริการแบบผสม (Service-combination) ที่นิยมกันมากที่สุดคือ กองทุนรวมกับการประกันชีวิตและวินาศภัย บางคนก็รวมบริการเขียนพินัยกรรม (Will-writing) ไว้ด้วย

ประเภทที่สาม คือ นักวางแผนการเงินรอบด้าน ซึ่งให้บริการทางการเงินเต็มรูปแบบโดยพิจารณาสถานะทางการเงินของลูกค้าอย่างรอบด้าน และใช้ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพที่เกี่ยวข้องหลายสาขา ใช้สินค้าหลายประเภทที่สามารถตอบสนองความจำเป็นทางด้านการเงินทั้งหมดของเขา มีแต่นักวางแผนการเงินรอบด้านเท่านั้นที่สามารถวางแผนการเงินสมบูรณ์แบบได้

 srcset=

นักวางแผนการเงินอาจถูกจัดประเภทตามลักษณะค่าตอบแทนที่ได้รับ โดยนักวางแผนการเงินส่วนใหญ่ได้รับค่าตอบแทน 4 แบบดังนี้

ค่าธรรมเนียมอย่างเดียว (Free Only) นักวางแผนการเงินประเภทนี้ คิดค่าบริการแบบอัตราเดียว หรือ รายชั่วโมงตามเวลาที่ใช้ในการจัดทำแผนการเงิน และให้คำแนะนำในการเริ่มทำตามแผน

ค่าธรรมเนียม และค่านายหน้า (Free and Commission) นักวางแผนจำนวนมากคิดค่าธรรมเนียมตามเวลาที่ติดต่อกับลูกค้าในช่วงจัดทำแผนการเงิน หลังจากนั้นก็ให้บริการเริ่มทำตามแผนโดยเสนอสินค้าประกัน หรือลงทุน ซึ่งในส่วนนี้เขาจะได้รับค่านายหน้า

ค่านายหน้าอย่างเดียว (Commission Only) นักวางแผนการเงินบางกลุ่มยังคงรับผลตอบแทนเป็นค่านายหน้าเท่านั้น จากการขายสินค้า และบริการตามคำแนะนำที่ให้แก่ลูกค้า

เงินเดือน (Salary) ธนาคาร บริษัทประกัน และสถาบันการเงินหลากหลายแห่งให้บริการวางแผนการเงินโดยนักวางแผนการเงินแบบมีเงินเดือนประจำ ซึ่งระดับเงินเดือนย่อมขึ้นอยู่กับขอบเขตของสินค้าและบริการ

ผลตอบแทนทั้ง 4 แบบต่างก็มีข้อดี แต่พึงระลึกเสมอว่าค่าตอบแทนเป็นเพียงสาระด้านเดียว ในบรรดาองค์ประกอบที่สำคัญในการเป็นนักวางแผนการเงินที่ดี

# ฉบับหน้าพบกับนิยาม วัตถุประสงค์ ขอบเขตและขั้นตอนในกระบวนการวางแผนการเงินสมบูรณ์แบบ #

แบ่งปันบทความนี้