Search
Close this search box.

นกยูงตัวหนึ่งในดินแดนนกเพนกวิน 2

แสดงความเชื่อมโยงกับแนวคิดผู้นำองค์กร

จากลักษณะนิสัยของเพอร์รี่ ผู้ที่จะเป็นผู้นำของเพอร์รี่สามารถนำทฤษฎีของ Paul Hersey and Kenneth Blanchard’s Life Cycle or Situation Leardership Theory มาใช้ได้ โดยทฤษฎี  Situation Leadership  เป็นทฤษฎีที่เน้นใน ตัวผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ตาม โดยเห็นว่าผู้นำจะประสบผลสำเร็จได้จากการเลือกรูปแบบผู้นำ ที่เหมาะสมกับระดับความพร้อมหรือวุฒิภาวะของผู้ตาม และไม่ว่าผู้นำจะเก่งกาจสักเพียงใด หากปราศจากการแสดงออกที่เหมาะสมของผู้ตาม งานก็ย่อมจะไม่เกิดผลสำเร็จ Situation Leardership ประกอบด้วยมิติของผู้นำ 2 ประเภทคือ พวกเน้นงานหรือเน้นคน และได้แบ่งผู้นำเป็น 4 ประเภท ดังนี้

ประเภทบอก
หรือเน้นงานไม่เน้นคน ผู้นำต้องคอยกำกับสั่งการให้รู้ว่าต้องทำอะไรเหมาะกับผู้ตามประเภท M1 คือ คนไม่มีความสามารถและไม่เต็มใจทำงาน

ประเภทขาย
หรือเน้นทั้งงานและคน ผู้นำทำหน้าที่ชี้นำ/สั่งการและสนับสนุน เหมาะกับผู้ตามประเภท M2 คือ คนที่ไม่มีความสามารถแต่มีความเต็มใจทำงาน

ประเภทร่วมมือ
หรือไม่เน้นงานแต่เน้นคน ผู้นำและผู้ตามร่วมมือกันวางแผนตัดสินใจร่วมกัน เหมาะกับผู้ตามประเภท M3 คือ คนที่มีความสามารถแต่ไม่เต็มใจทำงาน

 ประเภทมอบหมายงาน
หรือไม่เน้นทั้งงานและคน ผู้นำไม่มีบทบาทในการชี้นำเหมาะกับผู้ตามประเภท M4 คือ คนที่มีความสามารถและเต็มใจทำงาน

สำหรับนิสัยของเพอร์รี่ที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะทำงานและมีความสามารถจะเห็นว่าเพอร์รี่เป็นประเภท M4 ดังนั้นผู้นำของเพอร์รี่  จะต้องเป็นประเภท มอบหมายงาน 

การที่เพอร์รี่ลาออกจากดินแดนนกเพนกวินเพราะเพอร์รี่ไม่อยากสูญเสียความเป็นตัวของตัวเองซึ่งจะสอดคล้องที่ Daniel  Kahneman  กล่าวไว้ว่า “จิตมนุษย์นี้ไซร้  ยากแท้หยั่งถึง  แต่เลือกกระทำในสิ่งที่ก่อให้เกิดต้นทุนน้อยเสมอ” ถ้าเพอร์รี่ยังทำงานในดินแดนนกเพนกวินเพอร์รี่จะต้องเปลี่ยนตัวเองให้เป็นนกเพนกวินเพื่อที่จะได้รับการยอมรับการที่ต้องสูญเสียความเป็นตัวของตัวเองเป็นต้นทุนที่สูงมากสำหรับเพอร์รี่และมนุษย์ทุกคนดังนั้นเพอร์รี่จึงเลือกที่จะลาออก เพราะสูญเสียแค่งานซึ่งก็สามารถที่จะหางานใหม่ได้จะเห็นว่าเป็นต้นทุนที่ต่ำกว่า

สำหรับกรณีที่เพอร์รี่ลาออกจากดินแดนนกเพนกวินและไปทำงานในดินแดนแห่งโอกาสสามารถอธิบายได้ด้วยเรื่องของ “อำนาจ” เป็นศักยภาพที่สิ่งหนึ่งสมมุติให้เป็น A มีต่อสิ่งหนึ่งสมมุติให้เป็น B ต้องทำบางสิ่งที่ในภาวะอื่นๆเขาจะไม่ทำการพึ่งพาหรือความไม่เป็นอิสระ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดอำนาจจากข้อสมมุติฐานเบื้องต้นที่ว่า B ต้องพึ่งพา A มากเพียงใด ก็เท่ากับว่า A มีอำนาจเหนือ B มากเท่านั้น…เพอร์รี่ลาออกจากดินแดนนกเพนกวินเพราะองค์กรนกเพนกวินไม่ได้เป็นองค์กรเดียวที่เพอร์รี่ต้องทำงานด้วยเพอร์รี่มีทางเลือกที่จะไปทำงานกับองค์กรอื่นเพอร์รี่จึงอยู่ในภาวะอิสระไม่ต้องพึงพาองค์กรนกเพนกวินเพื่อให้ตนได้สิ่งที่ต้องการแสดงว่าดินแดนนกเพนกวินไม่มีอำนาจเหนือเพอร์รี่จึงไม่สามารถกำหนดจำกัดทางเลือกของเพอร์รี่ในการไปทำงานที่ใหม่

องค์กรนกเพนกวินเป็นองค์กรที่มีปทัสถานหรือแนวปฏิบัติ (Norms) เป็นมาตรฐานพฤติกรรมซึ่งเป็นที่ยอมรับ และถือปฎิบัติในหมู่สมาชิกของกลุ่มนกเพนกวินด้วยกัน โดยสมาชิกแต่ละคนจะทราบว่าการกระทำใดสมควรหรือไม่สมควร  ทั้งนี้ปทัสถานเป็นเรื่องเฉพาะกลุ่มที่อาจแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่ม และไม่จำเป็นต้องกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษร โดยทั่วไปแบ่งปทัสถานเป็น 4 ประเภท คือ

ปทัสถานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงาน ซึ่งเป็นแนวทางกำหนดให้พนักงานควรปฏิบัติอย่างไร เช่น แนวทางการทำงานให้สำเร็จ

ปทัสถานด้านการแสดงออก ได้แก่การแต่งกายที่เหมาะสม ความจงรักภัคดีต่อกลุ่มและองค์กร 

ปทัสถานทางสังคมอย่างไม่เป็นทางการ เป็นการเข้ากลุ่มโดยทั่วไป เช่น กลุ่มอาหารกลางวัน

ปทัสถานว่าด้วยการจัดสรรทรัพยากร เช่น การจัดสรรอุปกรณ์ การมอบหมายงานที่ยาก

สำหรับดินแดนนกเพนกวินจะมีปทัสถานเด่นๆ คือ ปทัสถานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงานและปทัสถานด้านการแสดงออกจะเห็นได้จากการที่ดินแดนนกเพนกวินได้ออกแบบนโยบายและวิธีการทำงานที่เหมาะกับนกเพนกวินและนกเพนกวินทุกตัวมีความเป็นระเบียบ จงรักภักดีต่อองค์กรเสียสละทุกอย่างเพื่อองค์กร

แสดงความคิดเห็น

          >>> นกเพนกวินยึดติดกับการทำงานแบบเดิมๆมีวิสัยทัศน์แคบยึดติดกับความสำเร็จในอดีตไม่ยอมรับสิ่งใหม่ๆไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ยึดติดธรรมเนียม อนุรักษ์นิยม ขอบกฎระเบียบ เคารพผู้บังคับบัญชา ข้าพเจ้าคิดว่าทุกคนมีนกเพนกวินอยู่ในตัวซึ่งจะเห็นได้จากการที่เราจะใช้เส้นทางเดิมๆในการเดินทางกลับบ้าน หรือการเก็บแฟ้มเอกสารไว้อย่างเป็นระเบียบเพื่อการค้นหาที่สะดวก

>>> ข้าพเจ้าคิดว่า องค์กรนกเพนกวินควรจะปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการใหม่ คือต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมใหม่ๆ ความคิดใหม่ๆ เพื่อที่องค์กรนกเพนกวินจะได้สามารถอยู่รอดได้ภายใต้การแข่งขันที่รุนแรงในปัจจุบัน แต่ไม่ได้หมายความว่าองค์กรนกเพนกวินจะต้องปรับเปลี่ยนทุกอย่างสำหรับวัฒนธรรมที่ดีที่องค์กรนกเพนกวินมีอยู่ก็ควรรักษาเอาไว้ เช่น เรื่องการมีกฎระเบียบ  มีวินัย  การให้ความเคารพผู้บังคับบัญชา

          >>> ข้อดีของนกเพนกวิน ที่ข้าพเจ้าคิดว่าข้าพเจ้าสามารถนำมาใช้กับองค์กรของข้าพเจ้า คือการที่นกเพนกวินมีวัฒนธรรมและแนวปฏิบัติที่นกเพนกวินทุกตัวทำตาม โดยเฉพาะแนวปฏิบัติในด้านความมีระเบียบ วินัย ซึ่งถ้าเราสามารถสร้างแนวปฏิบัติดังกล่าวในองค์กรของเราได้ ก็จะส่งผลให้พนักงานปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติขององค์กรมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่นเรื่องการมาทำงานตรงเวลา  มีความตั้งใจปฏิบัติงานในหน้าทีของตนเองอย่างเต็มความรู้ความสามารถ ในขณะเดียวกัน เราก็ต้องมีการปรับเปลี่ยน กฎ  ระเบียบ บางเรื่องที่ทำให้เกิดความล่าช้าในการทำงาน เพื่อให้เกิดการทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

>>> ตามความเห็นของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าคิดว่าในทุกองค์กรควรจะมีทั้งคนที่ชอบกฎระเบียบแบบนกเพนกวินเพื่อทำหน้าที่รักษากฎระเบียบและวัฒนธรรมขององค์กรไว้และในขณะเดียวกันองค์กรก็ควรมีคนที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์แบบนกยูงเพื่อที่จะได้พัฒนาความคิดใหม่ๆ นวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาในองค์กร เพื่อพัฒนาองค์กรให้เจริญก้าวหน้าไปพร้อมกับการมีวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่ง 

แบ่งปันบทความนี้