Search
Close this search box.

การเปิดสู่ความเสี่ยง

การวิเคราะห์ความจำเป็นและการกำหนดเบี้ยประกันภัย

การประกันภัยและเศรษฐกิจ

การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศเป็นผลมาจากการมีอยู่และการใช้ทุนที่มีตัวตน และทุนด้านทรัพยากรมนุษย์ที่ธุรกิจจำนวนมากในระบบเป็นเจ้าของจากการสะสมมา เมื่อเศรษฐกิจขยายตัว โอกาสของงานใหม่ๆ จะถูกสร้างขึ้น หากเศรษฐกิจไม่เติบโตจะเป็นผลให้มีตำแหน่งงานไม่เพียงพอ อันจะส่งผลให้เกิดการว่างงาน หากธุรกิจล้มลงลูกจ้างจะสูญเสียงานและส่งผลให้เศรษฐกิจต้องเสียหายด้วย นั่นคือเหตุผลที่ทุนทั้ง 2 ประเภทต้องมีการประกัน เพื่อเป็นเครื่องมืออันทรงพลังในการปกปักษ์รักษา และบริหารความเสี่ยง แม้การประกันจะไม่สามารถปกป้องชีวิต ทรัพย์สินทางกายภาพ แต่สามารถปกป้องและรับประกันต่อผลร้ายแรงทางการเงินที่จะตามมาหลังการสูญเสีย การประกันภัยจึงเป็น “สัญญาชนิดหนึ่งซึ่งฝ่ายหนึ่งตกลงที่จะชดใช้ให้อีกฝ่ายหนึ่งในความสูญเสีย หรือความเสียหายใดๆ อันเป็นผลมาจากภัยที่ระบุไว้ในสัญญา ทั้งนี้เพื่อแลกเปลี่ยนกับการจ่ายเงินทั้งก้อนในคราวเดียว หรือจ่ายเงินเป็นระยะๆให้แก่ฝ่ายแรก โดยการมีประกันภัยความเสี่ยงถูกถ่ายโอนจากผู้เอาประกันสู่บริษัทผู้รับประกัน ความเสี่ยงที่กล่าวนี้คือ ความเสี่ยงแท้จริง ซึ่งเป็นความเสี่ยงเพียงแบบเดียวที่สามารถรับประกันได้ ผู้เอาประกันต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อการได้รับความคุ้มครองจากผู้รับประกันภัยตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญา”

คุณลักษณะและหลักสำคัญของการประกันภัย

  1. หลักของการถ่ายโอนความเสี่ยง 

จากฝ่ายที่อ่อนแอกว่าทางการเงินไปสู่คนซึ่งมีความแข็งแกร่งกว่าทางการเงิน หรือ การแบ่งความเสี่ยงในบรรดาสมาชิกที่นำทรัพยากรมารวมกัน

  • หลักของค่าชดเชยความเสียหาย

การประกันภัยมิได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างกำไรให้แก่ผู้เอาประกันภัย และนี่คือหลักของการชดเชยความเสียหาย ซึ่งระบุว่า ผู้เอาประกันไม่อาจรับการจ่ายจำนวนค่าชดใช้เกินกว่าความสูญเสียที่เกิดขึ้นแก่ตัวเขา เมื่อภัยที่ประกันไว้เกิดขึ้นจริง

  • หลักการนำความเสี่ยงมารวมกัน

โดยการที่หลายๆบริษัทนำโอกาสของการเสี่ยงภัยมารวมกัน

องค์ประกอบหลักของความเสี่ยงซึ่งสามารถรับประกันได้

  1. จะต้องมีโอกาสความเสี่ยงชนิดเดียวกันจำนวนมากพอ เพื่อที่ว่าจะได้สามารถพยากรณ์ความสูญเสียในอนาคตได้อย่างมีเหตุผล
  2. ความสูญเสียนั้นจะต้องมีความแน่นอนในด้านของเวลา สาเหตุ สถานที่ และจำนวน
  3. ความสูญเสียต้องไม่เป็นความสูญเสียแบบหายนะอย่างใหญ่หลวง
  4. ความสูญเสียต้องเป็นคราวเคราะห์หรืออุบัติเหตุ

การวิเคราะห์ความจำเป็น

  1. โอกาสเสี่ยงภัยส่วนบุคคล

การระบุความเสี่ยงพิจารณาจาก การที่มีความเสี่ยงของค่าใช้จ่ายการเสียชีวิตหรือไม่ และ มีผู้ต้องพึ่งพา หรือบุคคลอื่นที่จะต้องสูญเสียแหล่งรายได้อันเป็นผลมาจากความตายของบุคคลหรือไม่ การวัดความเสี่ยง การประเมินค่าความเสี่ยง มี 2 วิธีที่แน่นอนในการประเมินค่าความเสี่ยงส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตไปก่อนเวลาอันควร นั้นคือ การวัดคุณค่าชีวิตมนุษย์ ซึ่งไปวิเคราะห์ที่ความสามารถในการหารายได้ของบุคคล เช่นจำนวนเงินที่อาจสูญเสียในกรณีการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร  และวิธีวิเคราะห์ความจำเป็นด้านเงินสดและรายได้ของผู้ที่ต้องพึ่งพาหลังจากการหักทรัพย์สินที่มีอยู่ของผู้เสียชีวิตออกไปแล้ว โดยคำนวณจากรายได้ของบุคคลที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอในแต่ละปีที่ผ่านไป รวมกับสมมติฐานเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกัน ทั้งนี้อาจรวมถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการปลดเกษียณ ซึ่งผลจากเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์ทำให้มีชีวิตยืนยาวขึ้น ซึ่งอาจเป็นข่าวดี แต่มีข้อเสียคือหากมีชีวิตอยู่ยืนยาวมากความต้องการรายได้จะสูงตามไปด้วย อาจมีความจำเป็นทางการแพทย์ตามมาด้วย และอีกประการหนึ่งคือความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการทุพพลภาพ สูญเสียรายได้แต่ยังคงจำเป็นต้องค้ำจุนและยังชีพของตนเองอยู่ ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยต้นทุนในการรักษาพยาบาลที่สูงขึ้นในแต่ละปี และความคุ้มครองโรคร้ายแรง

  • โอกาสเสี่ยงภัยของทรัพย์สิน

การระบุความเสี่ยงพิจารณาจาก การสูญเสียทางตรง คือความสูญเสียทางการเงินอันเป็นผลมาจากการที่ทรัพย์สินได้รับความสูญเสียทางกายภาพ ถูกทำลาย หรือถูกขโมย และทางอ้อม คือ ผลสืบเนื่องจากความสูญเสียทางตรง เช่นบ้านถูกไฟไหม้ต้องจ่ายค่าเช่าบ้านที่ใช้อยู่อาศัยชั่วคราว

  • โอกาสเสี่ยงต่อความรับผิดชอบ

ความประมาทเลินเล่อและความรับผิดทางกฏหมาย

รากฐานการกำหนดอัตราเบี้ย

ราคาของความคุ้มครองประกันภัยคือ เบี้ยประกันภัยซึ่งจ่ายโดยผู้เอาประกันภัย เบี้ยประกันภัยนี้ถูกกำหนดและพิจารณาจากนักคณิตศาสตร์ประกันภัย โดยผ่านทางการคำนวณอันซับซ้อนบนพื้นฐานของความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น

วัตถุประสงค์ของการกำหนดราคาเบี้ยประกันภัย

  1. พอเพียง

หมายถึง กลุ่มของกรมธรรม์ที่กำหนดไว้ เบี้ยประกันภัยที่เก็บได้ทั้งหมดในปัจจุบัน และในอนาคตบวกกับรายได้การลงทุน จะต้องมีเพียงพอที่จะสามารถทำตามพันธะปัจจุบันต่อผู้ถือกรมธรรม์ และครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องด้วยในกรมธรรม์รูปแบบเดียวกัน

  • อัตรายุติธรรม

อัตราเบี้ยที่เก็บกับผู้เอาประกันทุกรายต้องยุติธรรม ทุนประกันสมน้ำสมเนื้อ

  • อัตราที่ไม่มากเกินไป

เมื่อเปรียบเทียบกับผลประโยช์ที่จัดไว้ในกรมธรรม์

การกำหนดราคาเบี้ยประกันชีวิตและประกันสุขภาพ

            มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการคือ อัตรามรณะ คือความน่าจะเป็นของการมีชีวิต หรือการตาย แต่ละช่วงอายุตามเพศ อัตราดอกเบี้ย ผลตอบแทนจากการลงทุน และอัตราค่าใช้จ่าย

เบี้ยประกันสุทธิคำนวณจาก อายุ เพศ ผลประโยชน์ของกรมธรรม์ อัตราดอกเบี้ยคาดล่วงหน้า เบี้ยประกันอาจกำหนดแบบอัตราคงที่แบบรายปี เบี้ยประกันสุทธิก้อนเดียว หรือเบี้ยประกันภัยรวมก็ได้ตามคุณลักษณะและผลประโยชน์ของกรมธรรม์

การกำหนดราคาการประกันภัยทรัพย์สิน

            การกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยทรัพย์สินมีพื้นฐานเหมือนการประกันชีวิต และการประกันสุขภาพ ต่างตรงที่ไม่ต้องใช้อัตรามรณะ แต่กำหนดจากตัวแปรที่มีผลต่อการเกิดและการลดภัย อันได้แก่ สถานที่ตั้งของทรัพย์สิน การทำขึ้นมาหรือการก่อสร้างของทรัพย์สิน ธรรมชาติของการใช้ และแบบของการครอบครอง มาตรการความปลอดภัยที่จัดทำโดยเจ้าของหรือผู้ครอบครอง เช่นสัญญาณเตือน เครื่องดับเพลิง รวมถึงรูปแบบของสภาพแวดล้อมที่ทรัพย์สินตั้งอยู่

การลงทุนของบริษัทผู้รับประกันภัย

            ต้องขึ้นอยู่กับธรรมชาติของธุรกิจ ว่าเป็นวินาศภัยหรือประกันชีวิต และยังต้องขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ และระเบียบที่รัฐบาลใช้บังคับต่อการลงทุนของกองทุนประกันภัยด้วย ซึ่งธุรกิจประกันชีวิต จะมีแนวโน้มการลงทุนในระยะยาม  แต่ในแง่ของการประกันวินาศภัจะเลือกลงทุนในระยะสั้น

แบ่งปันบทความนี้